สภาพทั่วไปและสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
สภาพทั่วไป
ลักษณะที่ตั้ง
· องค์การบริหารส่วนตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือจังหวัดห่างจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ระยะทางถึงกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๔๕๐ กม.
เนื้อที่
· มีเนื้อที่ ๘๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๓,๑๒๓ ไร่ จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน
· จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งพื้นที่มี ๑๑ หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ ๒,๔,๗,๘,๙,๑๐,๑๒,
๑๓,๑๔,๑๗,๑๘
· จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. บางส่วนมี ๑ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑
ภูมิประเทศ
· ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่ว ๆ ไปของตำบลแคนดง เป็นที่ราบสูงทางทิศใต้ ระดับความ สูงจากน้ำทะเลประมาณ ๑๘๐ ฟุต และจะราบต่ำไปทางทิศเหนือ ระดับความสูงจากน้ำ ทะเลประมาณ ๑๓๐ ฟุต ทำให้พื้นที่ทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกเป็นลักษณะลูกคลื่น และที่ราบสูงสลับกับราบลุ่ม
ด้านสังคม
องค์การบริหารส่วนตำบลแคนดง มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ ๑๒ หมู่บ้าน ดังนี้
· หมู่ที่ ๑ บ้านแคนดง (นอกเขตเทศบาล)
· หมู่ที่ ๒ บ้านยางทะเล
· หมู่ที่ ๔ บ้านนาแซง
· หมู่ที่ ๗ บ้านหนองการะโก
· หมู่ที่ ๘ บ้านหนองกระทุ่ม
· หมู่ที่ ๙ บ้านโนนสมบูรณ์
· หมู่ที่ ๑๐ บ้านโนนกลาง
· หมู่ที่ ๑๒ บ้านโนนสวรรค์
· หมู่ที่ ๑๓ บ้านโคกเก่า
· หมู่ที่ ๑๔ บ้านม่วงทะเล
· หมู่ที่ ๑๗ บ้านหนองเครือ
· หมู่ที่ ๑๘ บ้านม่วงน้อย
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญและมีประโยชน์ไว้ไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน
2. เพื่อให้ผู้รับการถ่ายทอดตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเอง อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญานั้นๆ ต่อไป
ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นคำที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งเรียกว่าปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่น ซึ่งมี ผู้ให้คำกัดความของภูมิปัญญาท้องถิ่นในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
สามารถ จันทร์สูรย์ (2536) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดได้เองที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นสติปัญญา เป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้านทั้งกว้าง ทั้งลึก ที่ชาวบ้านสามารถคิดเอง ทำเองโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินวิถีชีวิตในท้องถิ่นอย่างสมสมัย
กรมวิชาการ (2538) ให้ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่นว่า คือความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนศึกษา สังเกต วิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลายเรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาให้เห็นเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชาต่างๆ อาจกล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่ช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา
รัตนะ บัวสนธ์ (2535) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลก และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดั่งกล่าวจะมีรากฐานจากคำสอนทางศาสนา คติจารีต ประเพณี ที่ได้รับการถ่ายทอด สั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมาปรับปรุงเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงแต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสุขของในส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล
ฉลาดชาย สมิตานนท์ (อ้างอิงถึงในพิสิฐ นาครำไพ. 2537) ให้ความหมายว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ สติปัญญาอันเกิดจากการเรียนรู้สะสมถ่ายทอดประสบการณ์ที่ยาวนานของผู้คนในท้องถิ่นซึ่งได้ทำหน้าที่ชี้นำว่าการจะใช้ชีวิตอย่ายั่งยืนและถาวรกับธรรมชาติรอบตัวนั้นทำอย่างไรซึ่งในที่สุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจถูกยกระดับให้หมายถึงอุดมการณ์ของการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีชีวิต สัตว์ พืช และมนุษย์ด้วยตัวเองตลอดจนสิ่งไม่มีชีวิตรอบข้าง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (ม.ป.ป.) กล่าวถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยว่า เป็นองค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะของคนไทยที่เกิดจากสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรร เรียนรู้ ปรุงแต่ง และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อม และเหมาะสมกับยุคสมัย
ประเวศ วะสี (2536) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์หรือความชัดเจนจากชีวิตและสังคมในท้องถิ่นหนึ่งๆ เพราะฉะนั้นจึงมีความสอดคล้องกับเรื่องของท้องถิ่นมากกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาจากข้างนอก ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ มีวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน มีความเป็นบูรณการสูงทั้งในเรื่องของกาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมและเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง อีกทั้งยังเน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าว่าวัตถุธรรม เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์ จึงมีความเคารพผู้อาวุโส ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
จากความหมายดังกล่าว อาจสรุปว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงองค์ความรู้ หรือสิ่งที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น ซึ่งได้ผ่านการคิดค้นและปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จนได้แนวทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพสังคม เป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป ถือเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมายร่วมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้งสติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น จึงมีความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ในหลายวิชา ดังที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541) ได้จำแนกไว้รวม 10 สาขา คือ
1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตรเป็นต้น
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิต เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
3. สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์ การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน
6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม
7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น
8. สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้ นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล
9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้ง ภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท
10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น
ด้านศาสนาและประเพณี
ศาสนสถาน ในพื้นที่ตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
ที่ |
ชื่อศาสนสถาน |
ที่อยู่ |
หมายเหตุ |
1 |
วัดป่าบ้านโนนสมบูรณ์ |
ม.9 ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ |
|
2 |
วัดบ้านหนองการะโก |
ม.9 ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ |
|
3 |
วัดบ้านโนนสวรรค์ |
ม.12 ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ |
|
4 |
วัดบ้านหนองกระทุ่ม |
ม.8 ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ |
|
5 |
วัดบ้านหนองเครือ |
ม.17 ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ |
|
6 |
วัดคลองสว่างนาแซง |
ม.4 ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ |
|
7 |
วัดบ้านยางทะเล |
ม.2 ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ |
|
8 |
วัดสว่างแคนทะเล (สำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำอำเภอแคนดง) |
ม.6 ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ เจ้าคณะอำเภอแคนดง (พระครูโสภณธรรมประสิทธิ์) เป็นเจ้าอาวาส |
|
ประเพณี/วัฒนธรรม ในพื้นที่ตำบลแคนดง
อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
บุญข้าวจี่
บุญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง
บุญมหาชาติ
บุญผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน ๓ พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า
วันสงกรานต์
สงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นี้นั้นจะมีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ไทย คือ วันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
วันเข้าพรรษา
"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"
ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
วันออกพรรษา
วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์
เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน
บุญมหากฐิน
กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน
การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ
จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี
บุญข้าวประดับดิน
ในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า ชาวลาวและชาวไทยอีสานจะมีงานบุญสำคัญเกิดขึ้นงานหนึ่ง เรียกกันในชื่องานบุญข้าวประดับดิน หรืองานบุญเดือนเก้า ซึ่งจะตรงกับเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยจะนำข้าวปลาอาหาร ของคาว ของหวาน ผลไม้ หมากพลู บุหรี่ แบ่งมาอย่างละเล็ก อย่างละน้อย ห่อใบตองเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางไว้ตามโคนไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เพื่ออุทิศกุศลให้แก่ปู่ย่าตายายญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยจะเรียกประเพณีนี้ว่า ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
ด้านการจัดการ
กลุ่มอาชีพในพื้นที่ตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
- กลุ่มอาชีพปลูกผักชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 9
- กลุ่มอาชีพทำขนมข้าวแต๋นน้ำแตงโม บ้านม่วงทะเล หมู่ที่ 14
- กลุ่มอาชีพทำเครื่องจักรสาน บ้านม่วงทะเล หมู่ที่ 14
- กลุ่มอาชีพทอผ้าไหม ผ้าซิ่นตีนแดง บ้านโนนกลาง หมู่ที่ 10
- กลุ่มอาชีพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กองทุนหมู่บ้านกลุ่มน้ำดื่มทิพย์สมบูรณ์ หมู่ที่ 9
-
ด้านส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น
- ศูนย์การเรียนรู้ศึกษาแหล่งธรรมชาติกุดทะเลสวน บ้านม่วงทะเล หมู่ที่ 14
- งานประเพณีแข่งเรือโบราณของชุมชนสายทุ่ง หมู่ที่ 4 ,10, 13, 18
ฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญและมีประโยชน์ไว้ไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน
2. เพื่อให้ผู้รับการถ่ายทอดตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเอง อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญานั้นๆ ต่อไป
ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นคำที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งเรียกว่าปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่น ซึ่งมี ผู้ให้คำกัดความของภูมิปัญญาท้องถิ่นในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
สามารถ จันทร์สูรย์ (2536) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดได้เองที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นสติปัญญา เป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้านทั้งกว้าง ทั้งลึก ที่ชาวบ้านสามารถคิดเอง ทำเองโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินวิถีชีวิตในท้องถิ่นอย่างสมสมัย
กรมวิชาการ (2538) ให้ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่นว่า คือความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนศึกษา สังเกต วิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลายเรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาให้เห็นเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชาต่างๆ อาจกล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่ช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา
รัตนะ บัวสนธ์ (2535) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลก และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดั่งกล่าวจะมีรากฐานจากคำสอนทางศาสนา คติจารีต ประเพณี ที่ได้รับการถ่ายทอด สั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมาปรับปรุงเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงแต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสุขของในส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล
ฉลาดชาย สมิตานนท์ (อ้างอิงถึงในพิสิฐ นาครำไพ. 2537) ให้ความหมายว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ สติปัญญาอันเกิดจากการเรียนรู้สะสมถ่ายทอดประสบการณ์ที่ยาวนานของผู้คนในท้องถิ่นซึ่งได้ทำหน้าที่ชี้นำว่าการจะใช้ชีวิตอย่ายั่งยืนและถาวรกับธรรมชาติรอบตัวนั้นทำอย่างไรซึ่งในที่สุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจถูกยกระดับให้หมายถึงอุดมการณ์ของการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีชีวิต สัตว์ พืช และมนุษย์ด้วยตัวเองตลอดจนสิ่งไม่มีชีวิตรอบข้าง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (ม.ป.ป.) กล่าวถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยว่า เป็นองค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะของคนไทยที่เกิดจากสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรร เรียนรู้ ปรุงแต่ง และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อม และเหมาะสมกับยุคสมัย
ประเวศ วะสี (2536) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์หรือความชัดเจนจากชีวิตและสังคมในท้องถิ่นหนึ่งๆ เพราะฉะนั้นจึงมีความสอดคล้องกับเรื่องของท้องถิ่นมากกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาจากข้างนอก ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ มีวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน มีความเป็นบูรณการสูงทั้งในเรื่องของกาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมและเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง อีกทั้งยังเน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าว่าวัตถุธรรม เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์ จึงมีความเคารพผู้อาวุโส ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
จากความหมายดังกล่าว อาจสรุปว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงองค์ความรู้ หรือสิ่งที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น ซึ่งได้ผ่านการคิดค้นและปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จนได้
แนวทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพสังคม เป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป ถือเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมายร่วมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้งสติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น จึงมีความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ในหลายวิชา ดังที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541) ได้จำแนกไว้รวม 10 สาขา คือ
1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตรเป็นต้น
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิต เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
3. สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์ การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน
6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม
7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น
8. สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้ นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล
9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้ง ภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท
10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น
ฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่าง ดังนี้
1.ด้านการเกษตร
ที่ |
ชื่อของภูมิปัญญา |
ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา |
ที่อยู่ |
1 |
การเกษตรผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง |
นายทองสุข ผลบูรณ์ |
ม.9 (บ้านโนนสมบูรณ์)
|
2.ด้านหัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ที่ |
ชื่อของภูมิปัญญา |
ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา |
ที่อยู่ |
1 |
ผลิตภัณฑ์จากปูนซีเมนต์ กระถางดอกไม้สวยงาม |
นายหวัด ดาทอง |
ม.17 (บ้านหนองเครือ) |
2 |
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการจักรสานไม้ไผ่ |
นายเรย เอ็นประโคน |
ม.4 (บ้านนาแซง) |
3 |
ผลิตภัณฑ์จากปูนซีเมนต์ กระถางดอกไม้สวยงาม |
นายหวัด ดาทอง |
ม.17 (บ้านหนองเครือ) |
4 |
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้าไหม |
นางอ่อนสี ยินรัมย์ |
ม.4 (บ้านนาแซง) |
5 |
กลุ่มอาชีพทอผ้าซิ่นตีนแดง |
กลุ่มอาชีพบ้านโนนกลาง |
ม.10 (บ้านโนนกลาง |
6 |
กลุ่มอาชีพทอเสื่อกก |
กลุ่มอาชีพบ้านม่วงทะเล |
ม.14 (บ้านม่วงทะเล) |
3.ด้านดนตรี นาฏศิลป์ การนวด และการละเล่นพื้นบ้าน
ที่ |
ชื่อของภูมิปัญญา |
ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา |
ที่อยู่ |
1 |
เป็นผู้มีความรู้ด้านพิธีกรรมทางศาสนา แสดงพื้นบ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน (ปี่) |
นายเอียว ยือรัมย์ |
ม.10(บ้านโนนกลาง) |
2 |
เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับด้านหมอตำแย |
นางแก้ว อ่อนสลวย |
ม.4 (บ้านนาแซง) |
4.ด้านอาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพร และยารักษาโรค
ที่ |
ชื่อของภูมิปัญญา |
ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา |
ที่อยู่ |
1 |
ผลิตภัณฑ์ขนมข้าวแต๋นน้ำแตงโม |
กลุ่มอาชีพบ้านม่วงทะเล |
ม.14(บ้านม่วงทะเล) |
2 |
เป็นผู้มีความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านยาสมุนไพร |
นายประยุทธ วิเสรัมย์ |
ม.4 (บ้านนาแซง) |
3 |
หมอดินอาสา |
นายเปรม ยันรัมย์ |
ม.4 (บ้านนาแซง) |
4 |
หมอดินอาสา |
นายสัตย์ ยือรัมย์ |
ม.4 (บ้านนาแซง) |
5.ด้านศาสนา วัฒนธรรม
ที่ |
ชื่อของภูมิปัญญา |
ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา |
ที่อยู่ |
1 |
พิธีกรทางศาสนา/พิธีกรรม/ทำขวัญนาค |
นายวีระ ยีรัมย์ |
ม.4(บ้านนาแซง) |
2 |
พิธีกรทางศาสนา/พิธีกรรม |
นายคำนึง จันทร์หนองแห้ว |
ม.18 (บ้านม่วงน้อย) |
3 |
พิธีกรทางศาสนา/พิธีกรรม/ทำขวัญนาค |
นายการัณยศักดิ์ แจ่มกุลเดช |
ม.10 (บ้านโนนกลาง) |
4 |
พิธีกรทางศาสนา/พิธีกรรมต่างๆ |
นายสุทัศน์ ดาวเรืองรัมย์ |
ม.8 (บ้านหนองกระทุ่ม) |
5 |
พิธีกรทางศาสนา/พิธีกรรมต่างๆ |
นายคำพันธ์ ไชยขันธ์ |
ม.4 (บ้านนาแซง) |