สถานที่จัดจำหน่าย

 65 ม.2 ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ 31150

 

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านนาแซง โดย : คุณอ่อนศรี ยินรัมย์

83 หมู่ 4 บ้านนาแซง ตำบลแคนดง กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ 31150

 

 

กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านม่วงทะเล โดย: นางพุฒ  หาญชนะ

บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 14 บ้านม่วงทะเล ตำบลแคนดง กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์

เรื่องราวของผลิตภัณฑ์/ภูมิปัญญา

สมาชิกกลุ่ม 20 คน

การจัดการ

เดิมการทอผ้าไหมนั้นเป็นกิจกรรมหรืออาชีพเสริมอย่างหนึ่งของกลุ่มแม่บ้าน บ้านม่วงทะเลอยู่แล้ว ปี 2543ได้มีการรวมกลุ่มกันทอผ้าไหมโดยมีแนวคิดว่าถ้ามีการทอผ้าไหมในลักษณะการรวมกันจะช่วยกันในเรื่องของเงินทุนและช่วยกันหาตลาดในการจำหน่ายผลิตถัณฑ์อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันในเรื่องการทอผ้าไหมด้วย

 

สภาพพื้นที่

สมาชิกกลุ่มอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน คือหมู่ที่ 14 บ้านม่วงทะเล 

ชุมชน

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม

การรวมกลุ่ม

สมาชิกกลุ่มได้ลงทุนเริ่มต้นคนละ 1,000 บาทรวมเป็นเงิน 20,000 บาทเพื่อซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม ผลผลิตนำไปขายทั้งในและนอกชุมชน

อาชีพหลัก

ทำนา

อาชีพเสริม

ทอผ้าไหม

 

โครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ผู้ประกอบการภายในประเทศมีอยู่หลายระดับ ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ขนาดกลาง และขนาดย่อม ร่วมถึงผู้ผลิตในชุมชน ผู้ประกอบการบางรายสามารถผลิตสินค้าเพื่อส่งออกได้ แต่ยังมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อมและผู้ผลิตในชุมชนที่ต้องการการพัฒนาและการส่งเสริมเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับ กระทรวงตสาหกรรมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจัดทำโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นเพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนนำภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

โครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้การสนับสนุนในด้านการกำหนดมาตรฐานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่ยอมรับและสามารถประกันคุณภาพให้ กับผู้บริโภคตลอดจนเป็นแนวทางที่เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ตลาดผู้บริโภคอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศต่อไป

บทบาท สมอ. ตามโครงการ

บทบาท สมอ. ตามโครงการ

1. พิจารณากำหนด แก้ไข และยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

2. ให้การรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยการออกใบรับรองและการติดตามผลภายหลังได้การรับรองแล้ว

3. ส่งเสริม พัฒนา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ผลิตในชุมชน

4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการการตามที่ได้รับมอบหมาย

5. ติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานให้กับคณะอนุกรรมการวิจัยพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยี ใน กอ.นตผ.แห่งชาติทราบทุกระยะ

6. ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมาย

วัตถุประสงค์

1. เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยสู่สากล

2. ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ให้มีคุณค่าและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

3. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรอง และแสดงเครื่องหมายรับรอง

4. ส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและสร้างความ มั่นใจให้กับผู้ผลิตระดับชุมชนในการทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตลอดจนผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน

5. มุ่งเน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐาน และสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาลในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page